หลักสูตรวิศวกรรมระบบอัจฉริยะ

หน้าแรก / การพัฒนานักศึกษา / หลักสูตรวิศวกรรมระบบอัจฉริยะ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมระบบอัจฉริยะ
(หลักสูตรพหุวิทยาการ)

Bachelor of Engineering Program in Intelligence Systems Engineering

รายละเอียดหลักสูตร

จากทิศทางการพัฒนาประเทศที่กำลังเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัย ขาดแคลนแรงงาน รวมถึงความ ต้องการเตรียมให้กำลังคนทุกช่วงวัยมีความสามารถในการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่เป็น สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง่ ส่งผลให้เกิดความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังคนที่มี ความสามารถใน

การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และอุปกรณ์ไอโอที (AI และ I0T) ที่สามารถ ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ การเกษตรอัจฉริยะ เทคนโลยีชีวภาพ และภาคการบริการอัตน่มัติ ที่มีการนำความฉลาด ของระบบคอมพิวเตอร์มาแทนแรงงานคนบางส่วน นอกจากจะตอบความต้องการของประเทศ ในด้านอุตสาหกรรมแล้ว หลักสูตรยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ ที่ สามารถนำความรู้ ทักษ: และประสบการณ์จากเรียนรู้ร่วมกับภาคอุสาหกรรมและธุรกิจเริ่มต้น (Startup) ไปประกอบธุรกิจของตนเองได้

ชื่อปริญญา

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมระบบอัจฉริยะ)

Bachelor of Engineering (Intelligence Systems Engineering)

ปรัชญาของหลักสูตร

การนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ข้ากับศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเพื่อสร้าง บัณฑิตที่มีทั้งความรู้ ทักษะทางด้านวิชาการ และทักษะทางสังคม ที่ทำให้บัณฑิตสามารถปรับ ตัวข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและทคโนโลยีในอนาคต และตอบโจทย์การพัฒนากำลัง ของประเทศอันนำไปสู่ Thailand 4.0

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
(Program Learning Outcomes: PLOs)

หลักสูตรเน้นบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบ ศิลปวิทยาศาสตร์ (Liberal Arts Education) โดยมุ่งหวังให้บัณฑิตสามารถใช้ทักษะและความรู้พื้นฐานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ สำหรับการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในเชิงวิศวกรรมระบบ และงานประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาในบริบทสังคมที่เป็นจริง โดยสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ของปัญญาประดิษฐ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานทางวิศวกรรมพื้นฐาน สามารถเขียนโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สำหรับการแก้ปัญหาด้วยกฎ (Rule-based reasoning) การอนุมานภายใต้ความไม่แน่นอน (Uncertainty reasoning) การรู้จำ (Recognition) การตรวจหา (Detection) การทำนาย (Prediction) และการหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization) อย่างง่าย อีกทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากโอเพนซอร์ส (Open Source) บนการประมวลผลแบบแบ่งปันทรัพยากรผ่านเครือข่าย (Cloud) ได้ มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และสื่อสารกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งมีทักษะทางสังคม และมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ที่ทำให้บัณฑิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศอย่างมีคุณภาพ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา