หน้าแรก / งานบริการวิชาการ(ชุมชน) / งานพัฒนาเชิงพื้นที่ : รางบัวโมเดล

การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นรอบมหาวิทยาลัยเป็นพันธกิจสำคัญของ มจธ. เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จึงมุ่งเน้นให้นักศึกษา เจ้าหน้าที่ นักวิจัยและอาจารย์ เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้และทำงานร่วมกันกับชาวบ้าน ชุมชน หน่วยงานในพื้นที่และเครือข่ายพันธมิตร เพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์ เข้าใจบริบท การดำรงชีวิตของชุมชน นำโจทย์จากพื้นที่ห้องปฏิบัติการจริงทางสังคม (Social Lab) ที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง มาแก้ไขหรือตอบโจทย์ โดยใช้การบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม  (Holistic : Area Based Community Development) 5 ด้าน  คือ เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม (Holistic Area Base)

ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน มีการทำงานหลายโครงการกระจายทั้ง 15 หมู่บ้านของตำบลรางบัว การขับเคลื่อนการทำงานเริ่มจากด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษาในมิติการเกษตร เพราะภาคการเกษตรมีบทบาทต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นแหล่งทรัพยากรการผลิตและกำลังคนที่สำคัญ จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อปัจจัยการผลิตหลักและมูลค่าการผลิตภาคเกษตรกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนาเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจ โดยการขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ การบริหารจัดการ เทคโนโลยี/นวัตกรรม บนห่วงโซ่การผลิตเพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิต ลดต้นทุนต่อหน่วยของการผลิต และเพิ่มรายได้ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะสามารถยกระดับวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการชุมชนรวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ในท้องถิ่นให้เป็นเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมในการแข่งขันทางการตลาดในอนาคต มหาวิทยาลัยมีการทำโครงการทางการเกษตรที่ตอบโจทย์ในพื้นที่

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา