หน้าแรก / งานวิจัย / ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร

ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร


งานวิจัยคุณภาพสูง
อัพเดทข่าวสารล่าสุด
16 มกราคม 2566

ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร

ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร (CTAR) จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดการยกระดับความรู้อย่างต่อเนื่องจากผลการวิจัยเชิงวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์จริงในระดับปฏิบัติและในระดับนโยบาย โดยเป้าหมายหลักคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบการเกษตรตามยุทธศาสตร์ของชาติและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคใหม่อย่างยั่งยืน การยกระดับภาคการเกษตรผ่านการพัฒนาขีดความสามารถด้านการเกษตรด้วยการแปลการวิจัยองค์ความรู้เชิงลึกเป็นแนวทางปฎิบัติที่มีเหตุผล เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิบัติ การดำเนินการของศูนย์มีทั้งการวิจัยเชิงลึกและการนำเกษตรกรผู้ใช้เข้าร่วมในฐานะนักวิจัยในชุมชน มีการอบรมทักษะเสริมการปฏิบัติอิงตามผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการปรับปรุงแนวปฎิบัติเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และข้อจำกัด ในรูปแบบ Reskill (ปรับเปลี่ยนทักษะให้ทันสมัย)/Upskill (เสริมทักษะเดิม) /New skill (เรียนรู้ทักษะใหม่) (RUN)  ของเกษตรกรให้มีการเรียนรู้แนวปฎิบัติอย่างมีเหตุผล มีการค้นคว้าหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีทัศนคติที่ดีและมีความคิดฐานวิทยาศาสตร์ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมในสังคมยุคใหม่ และสามารถเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร รวมถึงการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สนใจเทคโนโลยีเกษตรมากขึ้น

ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร (CTAR) จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดการยกระดับความรู้อย่างต่อเนื่องจากผลการวิจัยเชิงวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์จริงในระดับปฏิบัติและในระดับนโยบาย โดยเป้าหมายหลักคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบการเกษตรตามยุทธศาสตร์ของชาติและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคใหม่อย่างยั่งยืน การยกระดับภาคการเกษตรผ่านการพัฒนาขีดความสามารถด้านการเกษตรด้วยการแปลการวิจัยองค์ความรู้เชิงลึกเป็นแนวทางปฎิบัติที่มีเหตุผล เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิบัติ การดำเนินการของศูนย์มีทั้งการวิจัยเชิงลึกและการนำเกษตรกรผู้ใช้เข้าร่วมในฐานะนักวิจัยในชุมชน มีการอบรมทักษะเสริมการปฏิบัติอิงตามผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการปรับปรุงแนวปฎิบัติเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และข้อจำกัด ในรูปแบบ Reskill (ปรับเปลี่ยนทักษะให้ทันสมัย)/Upskill (เสริมทักษะเดิม) /New skill (เรียนรู้ทักษะใหม่) (RUN)  ของเกษตรกรให้มีการเรียนรู้แนวปฎิบัติอย่างมีเหตุผล มีการค้นคว้าหาความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ มีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีทัศนคติที่ดีและมีความคิดฐานวิทยาศาสตร์ มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติมในสังคมยุคใหม่ และสามารถเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร รวมถึงการส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สนใจเทคโนโลยีเกษตรมากขึ้น

เอกสารดาวน์โหลด



ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา