หน้าแรก / งานวิจัย / การสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามแนวทาง BCG อย่างยั่งยืน

การสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามแนวทาง BCG อย่างยั่งยืน


ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
ข่าวแนะนำอัพเดทข่าวสารล่าสุด
13 กุมภาพันธ์ 2568

การสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามแนวทาง BCG อย่างยั่งยืน

“การสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตามแนวทาง BCG อย่างยั่งยืน”

วันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2568 รศ. ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะอาจารย์ ร่วมกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยสยาม โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี พาอาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน

เยี่ยมชมกิจกรรมของสหกรณ์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และราชบุรี โดยวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 เยี่ยมชมการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมชะอำ-ห้วยทราย จำกัด สำราญฟาร์ม และฟาร์มโคนมทรงเลี้ยง ในโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ ในจังหวัดเพชรบุรี และในวันที่ 8 กุมภาพันธุ์ 2568 เยี่ยมชม สหกรณ์โคนมหนองโพ และสมเดชฟาร์ม ในจังหวัดราชบุรี

จากการเยี่ยมชมทั้ง 2 วัน ได้ศึกษาดูงานการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมชะอำ-ห้วยทราย และสหกรณ์โคนมหนองโพ ในมิติการสนับสนุนเกษตรผู้เป็นสมาชิก และสถานการณ์การดำเนินงานในปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้น และแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ และสมาชิกของสหกรณ์เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี

ส่วนการศึกษาดูงานในฟาร์มโคนมของเกษตรกร ได้ทราบถึงปัญหาของจำนวนของเกษตรผู้เลี้ยงโคนมที่ลดลงในปัจจุบัน เกิดจากปัญหาในการการจัดการพื้นที่ภายในฟาร์ม ภาระของการเลี้ยงดูโคสาว การเกิดโรคของโคนม ช่วงระยะเวลาการผสมเทียมติด ปริมาณน้ำนมต่อตัวต่ำ ราคาอาหารสัตว์สูงขึ้น และคุณภาพอาหารสัตว์ที่ใช้ในฟาร์มต่ำ ตลอดจนขาดการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ปริมาณฟาร์มโคนมของเกษตรผู้ที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP มีปริมาณน้อย และมีจำนวนผู้สืบทอดอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ลดลง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในประเทศร่วมกับอาจารย์ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดูงาน มาทำการวิเคราะห์ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะอาจารย์ร่วมกับอาจารย์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ประชุมสรุปปัญหา แนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และแนวทางการสร้างความร่วมมือในการทำงานของร่วมกันของมหาวิทยาลัยฯ เครือข่ายมหาวิทยาลัย หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมาใช้ในการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอย่างยั่งยืน

ทีมงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี


ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา