หน้าแรก / งานวิจัย / โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่า ภาคใต้

โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่า ภาคใต้


งานวิจัยคุณภาพสูงด้านสารสกัดธรรมชาติ
ข่าวแนะนำบทความ / ผลงานอัพเดทข่าวสารล่าสุด
14 มิถุนายน 2567

โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่า ภาคใต้

ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี) ภายใต้กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ เริ่มความร่วมมือกับสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพื้นที่ราชบุรีและบางขุนเทียนได้ลงพื้นที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ เพื่อสำรวจพืชวงศ์ขิง-ข่า ไม้หัว และหารือการทำงานวิชาการร่วมกัน ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนรอบพื้นที่

เมื่อวันที่ 13-15 มิถุนายน 2567 กลุ่มวิจัยสารสกัดจากธรรมชาติ มจธ.ราชบุรี และมจธ. บางขุนเทียน ร่วมกับ สวทช.เยี่ยมชมและศึกษาการใช้ประโยชน์พืชตระกูลขิงข่า ณ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับป่า ภาคใต้ โรงเรียนเครือข่ายและหมู่บ้านเครือข่ายรักษ์ป่าบาลา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เพื่อหาแนวทางด้านวิชาการ การรวบรวม การพัฒนาสายพันธุ์การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า มีดังนี้

1. ดาหลา    2. บุดหวาน 3. ว่านสาวหลง

มจธ.ราชบุรี ได้นำพันธุ์ ดอกดาหลา 3 สี (ขาว แดง ชมพู)  ขมิ้นชัน (พันธุ์ด้วง พันธุ์ไร้ราก) ซึ่งจะนำมาปลูกทดสอบ เพื่อการเรียนรู้ ที่สวนสมุนไพร และจะลองปลูกว่านสาวหลง จากอ.สวนผึ้ง เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตขนานไปกับการปลูก ที่อำเภอสุไหงโกลก และอนาคตอาจใช้ศึกษาเปรียบเทียบการให้สารออกฤทธิ์หรือน้ำมันหอมที่ได้จากการปลูกในแหล่งปลูกที่ต่างกัน

จากศูนย์การเรียนรู้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุ มันสัมปะหลัง พันธุ์พิรุณ4 ต้นในแปลงปลูกมีการเจริญเติบโตได้ดี ได้ขยายพันธุ์ให้ชาวบ้านไปแล้ว ศูนย์การเรียนรู้ หน่วยปฏิบัติการวิจัยร่วมทางธรรมชาติวิทยาป่าพรุ ได้ลองนำมาแปรรูปเป็นไส้ขนมกะหรี่พัฟ ซึ่งได้รสชาติดีน่าขยายตลาด สร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้ และรศ.ดร.มรกต  ตันติเจริญได้มอบท่อนพันธุ์พิรุณ5 ให้ไว้ ต้องติดตามการปลูก และการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ต่อไป    

 

                                     


ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา