หน้าแรก / งานวิจัย / การผลิตไบโอชาร์จากของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมตามแนวทาง BCG

การผลิตไบโอชาร์จากของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมตามแนวทาง BCG


ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร
ข่าวแนะนำอัพเดทข่าวสารล่าสุด
25 กุมภาพันธ์ 2568

การผลิตไบโอชาร์จากของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมตามแนวทาง BCG

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ปิยะภานุวัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มจธ.ราชบุรี ฝ่ายวิจัยและอุตสาหกรรม และคณะ ได้จัดการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่เทศบาลศรีดอนไผ่ในหัวข้อ “การผลิตไบโอชาร์จากของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการเพาะปลูกมะพร้าวน้ำหอมตามแนวทาง BCG” ซึ่งใช้งบประมาณจากโครงการ “การสร้างระบบนิเวศน์ในทำงานร่วมกันของหน่วยราชการ ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ในการสร้างเมืองน่าอยู่ในห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนมะพร้าวน้ำหอม จังหวัดราชบุรี

โดยสร้างรูปแบบการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งจากเกษตรกรรมในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม” จากหน่วยบริหารและจัดการทุน บพท สาขาเศรษฐกิจสีเขียว และภายใต้การสนับสนุนการจัดอบรมด้านสถานทีและอุปกรณ์ในการจัดอบรมจาก คุณสุรวุฒิ ปวุติภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอแอนด์เจ ผลไม้ไทย จำกัด / รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี และมี คุณวุฒิชัย สอนประสาน ปลัดเทศบาลศรีดอนไผ่กล่าวเปิดงาน และเข้าร่วมอบรมร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่

โดยมี ดร. บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ และคณะ จากหน่วยธุรกิจซีชาร์ (ZEACHAR) บริษัท ซียู เอ็นไว เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรในการอบรม ทั้งนี้ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับไบโอชาร์ ประโชยน์ของไบโอชาร์ในการเกษตร เตาผลิตไบโอชาร์ และกระบวนการผลิตไบโอชาร์จากของเหลืองทิ้งจากอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม

เพื่อใหเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมนำไปใช้ในการจัดการของเหลือทิ้งในสวน หรือหลังจากการแปรรูปมะพร้าวน้ำหอมตามแนวทาง BCG ของจังหวัดราชบุรี

ทีมงานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ราชบุรี


ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา