วันที่ 16 มีนาคม 2566 คุณอานันท์ ฟักสังข์ หัวหน้าสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี คุณแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดราชบุรี คุณสุรวุฒิ ปวุติภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ แอนด์ เจ ผลไม้ไทย จำกัด นายณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นซี โค่โค่นัท จำกัด และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยคุณจิระพันธุ์ เนื่องจากนิล
เข้าร่วมทำการทดสอบการนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมมะพร้าวน้ำหอม มาใชเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ร่วมกับถ่านหินซับบิทูมินัสในหม้อไอน้ำของบริษัท นำเชา (ประเทศไทย)จำกัด จังหวัดราชบุรี โดยมี คุณอัครเศรษฐ เกสรราช รองผู้จัดการโรงงาน เป็นผู้ให้ข้อมูล
ในการทดสอบการใช้เปลือกมะพร้าวน้ำหอมเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งมีค่าความร้อนในการเผาไหม้ (HHV) 4,200 kcal/kg (DB) ซึ่งน้อยกว่าถ่านหินซับบิทูมินัสประมาณ 2.1 เท่า จำเป็นต้องดัดแปลงระบบการป้อนเชื้อเพิลงเนื่องจากลักษณะของเชื้อเพลิงไม่เหมือนกันหรืออาจจะต้องทำให้รูปแบบของเชื้อเพลิงจากชีวมวลเป็นก้อนลูกเต๋าขนาด 1 ลบ.นิ้วเพื่อผสมกับถ่านหินได้และป้อนในระบบการป้อนแบบเดิม(สกรู) ซึ่งโดยส่วนใหญ่หม้อไอน้ำในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นรูปแบบดังกล่าว หากเมื่อเทียบราคาซื้อขายถ่านหิน กับชีวมวล พบว่า ต้นทุนชีวมวลในท้องตลาดมีค่าต่ำกว่าถ่านหิน 3 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาถ่านหินประมาณ 4.8 บาท/กก.) ถ้าสามารถลดปริมาณการใช้ถ่านหินซับบิทูมินัสได้ในประมาณร้อยละ 5 ของปริมาณถ่านหินซับบิทูมินัสทั้งหมดที่ใช้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อถ่านหินซับบิทูมินัสได้มากกว่า 4.4 ล้านบาทต่อปี ในกรณีของ บ.นำเชา (ประเทศไทย)จำกัด และยังลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งทางอุตสาหกรรมจังหวัด สภาอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้าไปช่วยในการหาวิธีการจัดการ การปรับปรุงกระบวนการป้อนเชื้อเพลิง ส่วนผสมที่เหมาะสมของเชื้อเพลิง ในการเผาไหม้ โดยไม่กระทบกับกำลังการผลิตไอน้ำ รวมถึงการประเมินการปลดปล่อยคาร์บอนเออกไซด์ ซึ่งจะนำผลดังกล่าวเป็นต้นแบบในการส่งเสริมให้ความรู้กับภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันตก และนำเปลือกมะพร้าวน้ำหอมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงภายใต้แนวคิด BCG และมุ่งสู่แนวทางการดำเนินการการจัดการคาร์บอนเป็นศูนย์ของจังหวัดต่อไป