หน้าแรก / งานวิจัย / มจธ. การหารือแนวทางในการจัดการ และสร้างมูลค่าจากเปลือกมะพร้าวเหลือจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสงคราม

มจธ. การหารือแนวทางในการจัดการ และสร้างมูลค่าจากเปลือกมะพร้าวเหลือจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสงคราม


งานวิจัยคุณภาพสูงห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ
อัพเดทข่าวสารล่าสุด
15 มีนาคม 2566

มจธ. การหารือแนวทางในการจัดการ และสร้างมูลค่าจากเปลือกมะพร้าวเหลือจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสงคราม

วันที่ 15 มีนาคม 2566 ได้มีการหารือแนวทางในการจัดการ และสร้างมูลค่าจากเปลือกมะพร้างเหลือจากการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสงคราม และปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 โดยคุณตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสงคราม และ ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ปิยะภานุวัตน์, ดร.พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เข้าร่วมลงสำรวจ และเก็บข้อมูลผู้ประกอบการที่ผลิตนำตาลมะพร้าว ที่มีการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในการก่อเตาตาล และเคี่ยวตาล ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีผู้ประกอบการใหญ่เป็นแบบธุรกิจครอบครัว ที่มีการปลูกมะพร้าว และใช้ผลมะพร้าวแก่ในการแปรรูป ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการใช้ชีวมวลในสวนมะพร้าวของตน ซึ่งรวมถึงเปลือกมะพร้าวด้วย ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากเปลือกมะพร้าวในพื้นที่มีอย่างต่อเนื่องแต่เนื่องจากปริมาณที่อาจจะมีการกองทิ้งตามถนนในสวนบางส่วน

นอกจากนั้นยังได้เข้าชมโรงงานสยามไฟเบอร์ และโรงงานอีโค่ไฟเบอร์ ที่มีรูปแบบการจัดการเปลือกมะพร้าวตั้งแต่ต้นทาง จนสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าได้ นอกจานั้นยังได้มีการเยี่ยมชมโรงงาน ไทยเพียว ซึ่งเป็นโรงงานที่แปรรูปมะพร้าวแก่ เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยไม่มีของเหลือทิ้งจากกกระบวนการผลิต (Zero wastes) ปัญหาเรื่อง PM 2.5 ที่เกิดจากการใช้ชีวมวล และขยะในชุมชนเป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามนั้น ได้มีการระดมสมอง และเสนอแนะแทนวทางในการดำเนินการ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเก็บข้อมูลการใช้เชื้อเพลิง ชีวมวลในพื้นที่ และการออกแบบระบบบำบัดอากาศสำหรับเตาเคี่ยวตาล จะมีการนำมาเสนอพิจารณาร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง


ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สำหรับบุคลากร


สำหรับนักศึกษา